
1. สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนัก วังและพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน
ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิดคือ เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนไม้ไผ่ ปูด้วยฟากไม้ไผ่ หลังคามุงด้วย ใบจาก หญ้าคา หรือใบไม้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เรือนเครื่องสับ เป็นไม้จริงทั้งเนื้ออ่อน และเนื้อแข็ง ตามแต่ละท้องถิ่น หลังคามุง ด้วยกระเบื้องดินเผา พื้นและฝาเป็นไม้จริงทั้งหมด ลักษณะเรือน ไม้ของไทยในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน และโดยทั่วไปแล้วจะมี ลักษณะสำคัญร่วมกันคือ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคา ทรงจั่วเอียงลาดชันตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ ใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์ สำหรับพระราชวัง เป็นที่ประทับของพระมหากษัติรย์ พระที่นั่ง เป็นอาคารที่มีท้อง พระโรงซึ่งมีที่ประทับสำหรับออกว่าราชการ หรือกิจการอื่น ๆ
ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิดคือ เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนไม้ไผ่ ปูด้วยฟากไม้ไผ่ หลังคามุงด้วย ใบจาก หญ้าคา หรือใบไม้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เรือนเครื่องสับ เป็นไม้จริงทั้งเนื้ออ่อน และเนื้อแข็ง ตามแต่ละท้องถิ่น หลังคามุง ด้วยกระเบื้องดินเผา พื้นและฝาเป็นไม้จริงทั้งหมด ลักษณะเรือน ไม้ของไทยในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน และโดยทั่วไปแล้วจะมี ลักษณะสำคัญร่วมกันคือ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคา ทรงจั่วเอียงลาดชันตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ ใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์ สำหรับพระราชวัง เป็นที่ประทับของพระมหากษัติรย์ พระที่นั่ง เป็นอาคารที่มีท้อง พระโรงซึ่งมีที่ประทับสำหรับออกว่าราชการ หรือกิจการอื่น ๆ
2. สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบิรเวณสงฆ์ ที่เรียกว่า วัด ซึ่งประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมหลายอย่าง ได้แก่ โบสถ์ เป็นที่กระทำสังฆกรรมของพระภิกษุ วิหารใช้ประดิษฐาน พระพุทธรูปสำคัญ และกระทำสังฆกรรมด้วยเหมือนกัน กุฎิ เป็นที่ อยู่ของพระภิกษุ สามเณร หอไตร เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญทางศาสนา หอระฆังและหอกลอง เป็นที่ใช้เก็บ ระฆังหรือกลองเพื่อตีบอกโมงยาม หรือเรียกชุมนุมชาวบ้าน สถูป เป็นที่ฝังสพ เจดีย์ เป็นที่ระลึกอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมธาตุ และเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
2. ธรรมเจดีย์ หมายถึง พระธรรม พระวินัย คำสั่งสอนทุกอย่างของพระพุทธเจ้า
3. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ของพระพุทธเจ้า หรือ ของพระภิกษูสงฆ์ได้แก่ เครื่องอัฐบริขารทั้งหลาย
4. อุเทสิกเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์ พระพุทธเจ้า เช่น สถูปเจดีย์ ณ สถานที่ทรงประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาปรินิพพาน และรวมถึงสัญลักษณ์อย่างอื่น เช่น พระพุทธรูป ธรรมจักร ต้นโพธิ์ เป็นต้น
1. ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมธาตุ และเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
2. ธรรมเจดีย์ หมายถึง พระธรรม พระวินัย คำสั่งสอนทุกอย่างของพระพุทธเจ้า
3. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ของพระพุทธเจ้า หรือ ของพระภิกษูสงฆ์ได้แก่ เครื่องอัฐบริขารทั้งหลาย
4. อุเทสิกเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์ พระพุทธเจ้า เช่น สถูปเจดีย์ ณ สถานที่ทรงประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาปรินิพพาน และรวมถึงสัญลักษณ์อย่างอื่น เช่น พระพุทธรูป ธรรมจักร ต้นโพธิ์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น