วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ฐานรากของบ้านเรือนไทย

พวกเราหลายคนอาจจะสงสัยว่าอาคารไทยใหญ่โตที่สร้างมาหลายร้อยปี ก่อนการใช้ระบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิทยาการตะวันตกนั้น ฐานรากใต้ดิน สำหรับผืนดินที่มีสภาพดินอ่อนของอาคารไทยและเรือนไทยนั้นทำกันอย่างไร และชาว ไทยใช้ภูมิปัญญาใดในการทำระบบฐานรากของเรือนไทยเดิม

ระบบฐานรากทั่วไปแล้วก็คือส่วนฐานที่รองรับน้ำหนักโดยตรงของเสาบ้าน และพยายามแผ่บานออกเพื่อถ่ายน้ำหนักสู่พื้นดินให้มากที่สุด ซึ่งฐานรากของเรือนไทย เดิมของเราจะใช้ไม้ตีขัดกันเป็นรัศมีรอบเสา หากเป็นไม้เหลี่ยมๆก็จะเรียกว่า “กงพัด” หากเป็นซุงท่อนกลมๆก็จะเรียกว่า “งัว” หรือถ้าเป็นไม้แผ่นกลมๆรัดรอบเสาให้เป็นฐาน รากกลมๆก็จะเรียกว่า “แระ หรือ ระแนะ” โดยฐานรากเหล่านี้พยายามให้อยู่ใต้ระดับน้ำ ใต้ดินหรือสูงกว่าระดับน้ำใต้ดิน ไม่วางอยู่ในระดับที่เกิดน้ำขึ้นน้ำลง เพื่อป้องกันการผุ กร่อนจากการสลับชื้นสลับแห้งเวลาเกิดน้ำขึ้นหรือน้ำลง 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น