วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

กำเนิดหมู่บ้านไทย

โดยทั่วไปหมู่บ้านไทยที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกเป็น ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้คือ1. ลักษณะหมู่บ้านริมแม่น้ำลำคลอง    โดยทั่วไปสภาพของหมู่จะเกิดการรวมตัวกันขึ้นโดยธรรมชาติตามลักษณะสภาพภูมิศาสตร์ อันเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพ สำหรับประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะนอกจากใช้เพื่อการเพาะปลูกแล้ว น้ำยังมีความจำเป็นสำหรับกิน อาบและเป็นเส้นทางคมนาคมจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วย

    การคมนาคมสมัยก่อนมีทั้งทางบกและทางน้ำ แต่โดยทั่วไปเส้นทางสัญจรที่สะดวกและนิยมมากที่สุดคือทางน้ำ ด้วยความสะดวกนี้จึงทำให้หมู่บ้านเกิดขึ้นตามริมแม่น้ำลำคลอง หรือที่เรียกว่า "
หมู่บ้านริมน้ำ"

    หมู่บ้านริมน้ำนี้มักมีชื่อขึ้นต้นคำว่า "บาง" ซึ่งในที่นี้หมายถึง หมู่บ้านหรือร้านค้าซึ่งปลูกเรียงรายไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หรือบริเวณใกล้ทะเล เช่น บางกอกน้อย บางปลาม้า บางปะกอก ฯลฯ

    เมื่อหมู่บ้านกำเนิดขึ้นแล้วสิ่งจำเป็นอื่นๆ ก็มักเกิดตามมาภายหลังได้แก่ ตลาด วัด สำหรับตลาดนั้นเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน เช่น ครอบครัวหนึ่งมีข้าวก็นำมาแลกกับเสื้อผ้า เป็นต้น ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแทน

 2. ลักษณะหมู่บ้านดอน

        กรณีที่ไร่นาอยู่ห่างจากแม่น้ำลำคลอง ก็อาจมีหมู่บ้านเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่บริเวณที่เป็นที่ตั้งหมู่บ้านมักตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งสูงกว่าไร่นา ชาวบ้านจะสร้างบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และแยกย้ายกันออกไปทำนา

         ในหมู่บ้านมักมีสระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่เพื่อไว้กินไว้ใช้ ส่วนน้ำเพื่อการเกษตรกรรมนั้นจะได้มาจากน้ำฝนและน้ำบ่าในเดือน 11 และ 12 หมู่บ้านลักษณะนี้เรียกว่า "บ้านหรือดอน" เช่น บ้านโป่งลาน บ้านทับกระดาน บ้านโพธิ์ ดอนกลาง ดอนเจดีย์ เป็นต้น
   3. ลักษณะหมู่บ้านกระจัดกระจาย
        หมู่บ้านลักษณะนี้เกิดจากการวมตัวของบ้านเรือนหลายๆ หลัง ซึ่งแต่ละหลังจะอยู่อย่างกระจัดกระจายและโดดเดี่ยว กล่าวคืออยู่เป็นหลังๆ ห่างกันมาก โดยทั่วไปแล้วเรือนแต่ละหลังมักตั้งอยู่ในที่นาหรือที่สวนของตนเอง หมู่บ้านลักษณะนี้จะลำบากต่อการพัฒนา ดังจะเห็นได้จากหมู่บ้านในบางส่วนของภาคกลาง ซึ่งสภาพความเป็นอยู่ สังคม ประเพณี และความสัมพันธ์ฉันเครือญาติของหมู่บ้านจะไม้เข้มข้นเท่าหมู่บ้านลักษณะอื่นๆ


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น