วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรงศรีอยุธยาแห่งที่สอง กล่าวคือได้มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญ โดยเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยารวมไปถึงสถาปัตยกรรมประเภท บ้านพักอาศัย เรือนไทยบางเรือนที่ยังคงเหลือจากการทำศึกสงครามกับพม่าก็ถูกถอดจากกรุงศรีอยุธยามาประกอบที่กรุงเทพมหานคร


กรุงเทพมหานครกลายเป็นมหานครศูนย์กลางแห่งหนึ่งที่รวบรวมเอาผู้คนหลายหลายชาติวัฒนธรรมเข้ามารวมอยู่ด้วยกันไม่ว่าจะเป็น แขก (อินเดีย) ฝรั่ง (ชาติตะวันตก) และ จีน ที่มีการซึมซับวัฒนธรรมอื่นมาทีละน้อย หลักฐานในยุคนั้นไม่ปรากฏเท่าไร เนื่องจากผุพังไปตามสภาพกาลเวลา แต่จะเห็นได้จากภาพตามจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น รวมถึงรูปแบบบ้านพักอาศัยซึ่งมีตึกปูนแบบจีนอยู่ค่อนข้างมาก
      ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยุคทองแห่งศิลปะจีน มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม

      สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้นดังเช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศิลปะแบบกอธิค

      ต่อมาในยุคที่มีการล่าอาณานิคม พระมหากษัตริย์ของเราก็ทรงพระปรีชาสามารถเลือกหนทาง การประนีประนอม ไม่ให้เสียเอกราชไปโดยที่เราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเป็นอยู่ของตัวเอง สถาปัตยกรรมไทยในสมัยนั้นจึงมีหน้าตาเป็นแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก บ้านเรือนเปลี่ยนรูปแบบเป็นตึกก่ออิฐถือปูน มีการวางผังแบบสากลและตายตัว ไม่ใช้ Open Plan แบบเก่า มีการกั้นห้องเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รับแขก รับประทานอาหาร นั่งเล่น เป็นต้น

      สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้แบ่งประเภท ของบ้านเรือนในกรุงเทพตามแบบวัฒนธรรมออกเป็น 3 แบบ คือ

 

  1. แบบเดิม คือ แบบเรือนของผู้มีฐานะ (ระดับ)เดียวกัน เคยทำมาอย่างไรก็ทำมาอย่างนั้น มิได้คิดเปลี่ยนแปลงยกตัวอย่างเช่น วังเจ้าบ้านนายขุน
  2. แบบผสม คือ เอาตึกฝรั่งหรือเก๋งจีนมาสร้างแทรกเข้าบ้าง เข้าใจว่าเกิดขึ้นในรัชการที่ 4 และต่อมาจนต้นรัชกาลที่ 5 ดังตัวอย่างที่มีเก๋ง และ การแก้ไขตำหนักที่วังท่าพระ เป็นต้น
  3. เปลี่ยนเป็นอย่างใหม่ คือ เลิกสร้างเรือนแบบไทยเดิม และตึกฝรั่ง เก๋งจีน คิดทำเป็นตึกฝรั่งทีเดียว เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5

      อย่างไรก็ตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมในสมัยนั้นก็คงเอกลักษณ์ไทยเอาไว้บ้าง เช่นการนำหน้า ตาสถาปัตยกรรมไทยเข้ามาใส่ด้านหน้าของตึก ไม่ว่าจะเป็น ลายฉลุไม้ หลังคา ทรงจั่ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น